ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท
"ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต"
ภาพจำลองอาการหลอนของผู้เสพยาเสพติดประเภทหลอนประสาท |
ยาเค
ยาเค
(เคตามีน ) ถูกสังเคราะห์ เพื่อใช้เป็นยาดมสลบในกระบวนการผ่าตัดระยะสั้นๆ
แต่เนื่องจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น จะทำให้เกิดการเสพติด
แพทย์จึงไม่นิยมใช้ยาชนิดนี้กับคนไข้ ยาเค มีทั้งชนิดที่เป็นผงผลึกสีขาว แลชนิดน้ำ
มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น เคตาว่า เคตาลา เป็นต้น
โครงสร้างทางเคมีของยาเค |
ยาเค
จะถูกนำมาใช้ในทางที่ผิดเพื่อให้เกิดอาการมึนเมาโดยการนัตถุ์
และจะใช้ร่วมกับยาเสพติดชนิดอื่น เนื่องจากฤทธิ์ยาที่หลอนประสาทรุนแรง
ผู้เสพจะรู้สึกเคลิบเคล้ม มึนงง ขาดสมาธิ ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน
นัยน์ตาเบิกโพลง ความคิดสับสน การรับรู้และการตอบสนองต่อสิ่ง แวดล้อมทั้ง ภาพ แสง
สี เสียง จะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อผู้เสพฟื้นจากภาวะเมายาแล้ว
พบว่าบางรายจะเกิดอาการวิกลจริต ประสาทหลอน หูแว่วเสียงต่างๆ
หากเสพเป็นระยะเวลานานอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าแม้ไม่ได้ใช้ยาก็ตาม
เรียกว่า flashback ผู้ใช้ยาเคในปริมาณมากเกินไป
อาจทำให้เกิดอาการหายใจติดขัด อาจทำให้เสียชีวิตได้
ภาพจริงของยาเค |
โทษทางกฎหมาย
ยาเค จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ ประเภท 2
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 106 พ.ศ.2541
ผู้ใดจะ
ผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก ยานี้มิได้ เว้นแต่กระทรวงสาธารณสุข
หรือผู้ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น
ผู้ฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี
ปรับตั้งแต่ 100,000 - 400,000 บาท
แอลเอสดี
แอลเอสดี
เป็นสารสกัดจาก กรดไลเซอจิก ที่มีในเชื้อราชนิดหนึ่งในข้าวไรย์ มีลักษณะเป็นผง
ละลายน้ำได้ แอลเอสดี มีชื่อในหมู่ผู้เสพว่า " เอซิค" มีหลายรูปแบบเช่น
เคลือบติดอยู่บนกระดาษ ใช้อมใต้ลิ้น หรือแบบเม็ดยา แบบแคปซูล
แบบของเหลวสำหรับรับประทาน ที่พบว่าแพร่ระบาดมากเป็นแผ่นกระดาษ ที่พิมพ์รูปภาพหรือ
สัญลักษณ์ โดยเคลือบสารเสพติด และปรุแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ ลักษณะเดียวกับแสตมป์
มีชื่อเรียกว่า " เมจิกเปเปอร์" เมื่อเสพเอสเอลดีเข้าไป
จะเริ่มมีผลต่อร่างกายและจิตใจระหว่าง 15 - 60
นาที และจะออกฤทธิ์ได้นาน 6 -8 ชั่วโมง
โครงสร้างทางเคมีของแอลเอสดี |
แอลเอสดี
จะมีฤทธิ์หลอนประสาทและทำให้เกิดอาการผิดปกติทางจิตอย่างรุนแรง
ในขนาดที่ใช้ยาเพียง 20 - 25 ไมโครกรัมเท่านั้น
ผู้เสพจะเกิดอาการเพ้อฝัน เกิดภาพหลอนเห็นแสงสีและภาพที่ผิดปกติ
ได้ยินเสียงประหลาด บางรายคิดว่าตนเองมีอำนาจวิเศษ สามารถเหาะได้
บางรายเห็นภาพหลอนที่หน้ากลัว จึงหนีภาพหลอนเหล่านั้นด้วยการฆ่าตัวตาย
ทั้งที่ไม่ต้องการฆ่าตัวตายเลยก็ตาม ส่วนอาการทางกายมักพบว่าหัวใจเต้นเร็ว
ความดันโลหิตสูง ม่านตาขยาย หายใจไม่สม่ำเสมอ
ภาพของแอลเอสดี |
โทษทางกฎหมาย ( ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 )
แอลเอสดี
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ผู้กระทำผิดได้รับโทษดังนี้
ผู้ผลิต / ผู้จำหน่าย
มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต
ผู้เสพ มีโทษจำคุก 6
เดือน ถึง 10 ปี และปรับ 5,000 - 100,000
บาท
หลอกลวง / ขู่เข็ญให้ผู้อื่นเสพ
โดยเฉพาะกระทำต่อผู้หญิงและผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีโทษถึงประหารชีวิต
ดีเอ็มที
โครงสร้างทางเคมีของดีเอ็มที |
ภาพของดีเอ็มที |
ดีเอ็มที ผู้ที่เสพติดจะประสาทตื่นตัว ไม่ง่วงนอน กระวนกระวาย จิตใจสับสนหวาดระแวงหรือมีอาการทางจิตผู้เสพ มีโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับ 5,000 - 100,000 บาท
หลอกลวง / ขู่เข็ญให้ผู้อื่นเสพ โดยเฉพาะกระทำต่อผู้หญิงและผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีโทษถึงประหารชีวิต
เห็ดขี้ควาย
เห็ดขี้ควาย
หรือ เห็ดวิเศษ (อังกฤษ: Magic mushroom; ชื่อวิทยาศาสตร์: Psilocybe cubensis)
อยู่ในวงศ์ Strophariaceae เป็นเห็ดที่มีฤทธิ์กับระบบประสาท
มีขึ้นอยู่ตามกองมูลควายแห้ง สีของเห็ดจะมีสีเหลืองซีดคล้ายสีฟางแห้ง
บนหัวของร่มจะมีสีน้ำตาลเข็มจนถึงสีดำ บริเวณก้าน ที่ใกล้จะถึงตัวร่ม
จะมีแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ สีขาวแผ่ขยายออกรอบก้าน แผ่นนี้มีลักษณะคล้ายวงแหวน
เห็ดขี้ควายมีขึ้นอยู่ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศไทย
ลักษณะของเห็ดตัวสมบูรณ์และโตเต็มที่ ตรงบริเวณหมวกจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6.5
- 8.8 เซนติเมตร ความสูงของลำต้นประมาณ 5.5 -
8.0 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 - 1.0
เซนติเมตร
ภาพของเห็ดขี้ควาย |
ผู้ที่รับประทานเห็ดนี้
จะมีอาการมึนเมา ประสาทหลอน ไม่สามารถลำดับทิศทาง เห็นภาพ แสง สีต่างๆ ลวงตา
มีความคิดและอารมณ์เปลี่ยนแปลงคล้าย แอลเอสดี
ถ้ากินมากเกินไปอาจจะทำให้ควบคุมสติไม่อยู่ เกิดประสาทหลอนอย่างรุ่นแรง คลื่นไส้
อาเจียน อาจเสียชีวิตได้เพราะหายใจติดขัด คนที่เคยใช้มานาน ๆ
จะเพลินต่อความรู้สึกต่าง ๆ นี้ ร่างกายจะเกิดการต้านยา
ต้องเพิ่มขนาดการใช้ขึ้นเรื่อย ๆ
ถ้ารับประทานดอกแห้งจะมึนเมาน้อยกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับการรับประทานดอกสด
อาการที่เกิดจากการกินเห็ดขี้ควายขึ้นอยู่กับปริมาณ
และสภาพของร่างกายของแต่ละบุคคล
สำหรับในประเทศไทย
ดอกเห็ด ก้านเห็ด สปอร์ของเห็ดดังกล่าว จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยผู้ใดผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000-1,500,000
บาท ขณะที่ผู้เสพจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น