วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ทำ stop motion

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ทำ stop motion

1. กล้องถ่ายรูป
2. ขาตั้งกล้อง เวลาถ่ายเฟรมควรจะนิ่ง ภาพจะได้เล่นต่อเนื่อง และเหมือนสิ่งของขยับได้จริง
3. แบบสำหรับถ่าย หรือหุ่น ตุ๊กตา
4. ต้องมีโปรแกรมตัดต่อ VDO (ใช้โปรแกรม Corel Video Studio Pro X5)
5. เพลงที่จะใช้ประกอบ VDO หรือไม่มีเพลงประกอบก็ได้ (อาจต้องใช้ภาพมากกว่า 2,000 กว่าภาพ เพื่อเล่น VDO ให้จบภายใน 1 เพลง)

 อ้างอิง http://tidtee1974.blogspot.com/2012/08/how-to-make-stop-motion-stop-motion-vdo.html

[ฟอร์ม] ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อผลด้านคอมพิวเตอร์

https://docs.google.com/a/srp.ac.th/forms/d/1e_0eYP_Hj6C4s2cXp0rW-Yf0R9qz_V0JOe5NuyWwDPw/viewform?usp=send_form

เทคนิคการถ่ายสต็อปโมชัน

เทคนิคการถ่ายสต็อปโมชัน

การถ่ายสต็อปโมชันมีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น
·         เคลย์แอนิเมชัน (Clay animation เรียกย่อ ๆ ว่า เคลย์เมชัน / claymation)
คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้
·         คัตเอาต์แอนิเมชัน (Cutout animation)
สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ มิติ (เช่น กระดาษผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย
·         กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)
เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่าง ๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้
·         โมเดลแอนิเมชัน (Model animation)
คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและฉากหลังเหมือนจริง
·         แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)
ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว
·         พิกซิลเลชัน (Pixilation)
เป็นสต็อปโมชันที่ใช้คนจริง ๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง หุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/สตอปโมชัน

Stop Motion

Stop Motion

 Stop-motion เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 1800 มันถูกสร้างโดยใส่การเคลื่อนไหวเข้าไปในวัตถุที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ลองมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ Stop-motion
 ในสมัยก่อน การทำ stop-motion ส่วนมากจะทำกับวัตถุที่เคลื่อนไหวเองไม่ได้ ต้องทำการถ่ายรูปแล้วก็ขยับวัตถุทีละน้อยแล้วก็ถ่ายรูปซ้ำไปซ้ำมา พอได้ภาพจำนวนหนึ่ง ก็จะนำมาเรียงต่อกันเพื่อทำเป็นหนัง stop-motion เรื่องสั้นเรื่องแรก คือ The Humpty Dumpty Circus สร้างโดย Albert Smith กับ Stuart Blackton ในปี 1899
Emile Cohl
Emile Cohl นักสร้างการตูนและผู้สร้างอนิเมชั่นชาวฝรั่งเศส เป็นคนนำ stop-motion เข้ามาสู่อเมริกา เขาใช้ ภาพวาด หุ่นจำลอง และอื่นๆที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เท่าที่เขาจะหาได้ สำหรับทำ stop-motion แล้วหนัง stop-motion เรื่องแรกของเขา ชื่อว่า Fantasmagorie เขาสร้างมันเสร็จในปี 1908 ใช้ภาพวาดทั้งหมด 700 ภาพ แล้วถ่ายรูปขึ้นมาเพื่อนำมาทำเป็นอนิเมชั่น
Willis O’Brien
Willis O’Brien เป็นผู้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับวงการภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขาร่วมสร้างคือ The Lost World ในปี 1925 ในภาพยนตร์มีบางช่วงที่เป็น stop-motion ซึ่งเขาเป็นคนทำมัน จากผลงานนี้ทำให้เขาได้ร่วมงานกับทีมสร้าง King Kong
อ้างอิง http://www.lomography.co.th/magazine/128477-a-short-history-of-stop-motion-animation-thai

ประเภทของความรุนแรง

ประเภทของความรุนแรง


1. ความรุนแรงทางด้านร่างกาย
           การกระทำรุนแรงทางกาย หมายถึง การใช้กำลังหรือ อุปกรณ์ใด ๆ เป็นอาวุธทำร้ายร่างกายเกินกว่าเหตุมีผลทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ
2. ความรุนแรงทางด้านจิตใจ
   การกระทำรุนแรงทางจิต หมายถึง การกระทำใด ๆ ที่มีผลให้ผู้ถูกกระทำได้รับความกระทบกระเทือนด้านจิตใจหรือเสียสิทธิเสรีภาพ ได้แก่ การทอดทิ้ง การดูถูก เหยียดหยาม หรือดุด่า การกักขังหน่วงเหนี่ยว
3. ความรุนแรงทางเพศ   
  การกระทำรุนแรงทางเพศ หมายถึง การกระทำที่มีผลให้ผู้ถูกกระทำได้รับความกระทบกระเทือนหรือเสียหายเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ได้แก่ การถูกข่มขืน การถูกลวนลาม อนาจาร 




 
อ้างอิง : http://www.violence.in.th/publicweb/NewsDetail.aspx?id=17&type=6
อ้างอิงรูป : www.thaihealth.or.th

วิธีแก้ปัญหาควารุนแรง

วิธีแก้ปัญหาความรุนแรง

1  พัฒนา ทดสอบ ความรู้ด้านจิตวิทยาและทักษะอารมณ์   ครูส่วนใหญ่มักลงโทษเด็กด้วยการตีหรือการดุด่า เพราะรับรู้วิธีนี้มาตั้งแต่เป็นนักเรียน ดังนั้น ศธ. ควรปรับปรุงการพัฒนาครู โดยเพิ่มเติมในเรื่องจิตวิทยาและทักษะอารมณ์ ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาครูก่อนประกอบวิชาชีพครู
2ทดสอบและประเมินทักษะทางอารมณ์ของนักเรียน สถานศึกษามีระบบทดสอบและประเมินทักษะทางอารมณ์ของนักเรียนในแต่ละช่วงชั้น และมีการส่งผลผลการทดสอบและประเมินไปยังระดับการศึกษาที่สูงขึ้น เพื่อปรับพฤติกรรมผู้เรียนในระยะยาว
3ร่วมมือกับนักจิตวิทยาแก้ปัญหาและป้องกันใช้ความรุนแรงสถานศึกษาร่วมมือกับนักจิตวิทยา เพื่ออบรมครูแนะแนว ครูประจำชั้น และครูฝ่ายปกครอง ให้เข้าใจสภาพของผู้เรียน รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาและการลงโทษที่ถูกต้องเหมาะสม
4มีช่องทางสื่อสารระหว่างสถานศึกษากับครอบครัว สถานศึกษามีช่องทางสื่อสารเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กสู่สถานศึกษาและจากสถานศึกษาสู่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนดูแลและแก้ไขพฤติกรรมเด็ก

5 พัฒนาระบบการลงโทษในสถานศึกษาที่ได้มาตรฐาน สถานศึกษาควรมีระบบการลงโทษผู้เรียนที่ได้มาตรฐานและยุติธรรม โดยไม่ควรให้ครูคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ตัดสินลงโทษนักเรียน แต่ควรมีหลายฝ่ายเข้าร่วมพิจารณา เช่น ผู้ปกครอง ครูประจำชั้น ฯลฯ

อ้างอิง http://www.kriengsak.com/node/271

สาเหตุของความรุนแรงในสถานศึกษา

สาเหตุของความรุนแรงในสถานศึกษา


1. ครูอาจารย์ยังไม่มีความรู้และความเข้าใจเรื่อง สิทธิเด็ก และสิทธิมนุษยชน ทำให้มี  การลงโทษที่ไม่เหมาะสม บางครั้งใช้ความรุนแรงกับเด็กโดยไม่สืบหาสาเหตุที่แท้จริงของเด็ก
2ยังมีครูอาจารย์ที่กระทำล่วงเกินทางเพศและทำร้ายทารุณทางจิตใจกับเด็กเป็นจำนวนมาก
3. ค่านิยมของเด็กเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาของตนเอง รวมทั้งประเพณีการต้อนรับน้อง  เป็น สาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดความรุนแรง
4ปัญหาความเครียดความกดดันต่างๆ ที่ทั้งครูและพ่อแม่ให้กับเด็ก เช่น การบังคับให้เรียนพิเศษตอนเย็น การไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย เป็นต้น
5ครูยังขาดทักษะในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งครูยังใช้ความรุนแรงต่อกันเองให้เด็กได้เห็น
6การลงโทษครูที่กระทำรุนแรงต่อเด็ก ยังไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การลงโทษโดยการโยกย้ายครูไปอยู่ที่โรงเรียนอื่น ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
7ผู้บริหารโรงเรียนบางแห่งปกป้องครู หรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิด  และไม่ต้องการให้ชุมชนหรือสังคมได้รู้ปัญหา เนื่องจากเกรงว่าจะเสียชื่อโรงเรียน
8.โรงเรียนและสถาบันการศึกษาบางแห่งมีการลงโทษนักเรียนด้วยวิธีรุนแรงในรูปแบบต่างๆ
อ้างอิง http://www.nurse.cmu.ac.th/stopd/knowledge/websara/violence.html

ความรุนแรงมีผลกระทบอย่างไร?

ความรุนแรงมีผลต่อผู้ถูกกระทำทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ด้านร่างกาย : ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ พิการ หรือเสียชีวิต

ด้านจิตใจ : เสียใจ ซึมเศร้า รู้สึกตนเองไร้คุณค่า โกรธ อับอาย เครียด วิตกกังวล ทำร้ายตัวเอง หันมาใช้ความรุนแรง ในการตอบโต้ บางคนอาจไม่สนใจเรียนหนังสือ ประพฤติตัวประชดประชันโดยการใช้ยาเสพติด เที่ยวเตร่ หนีออกจาก บ้าน ทำให้เสียอนาคต และนำความเสียใจมาสู่บิดามารดา

ดังนั้นการรณรงค์เพื่อลดปัญหาความรุนแรงส่วนหนึ่ง จึงต้องมุ่งที่การปรับเปลี่ยนมายาคติหรือความเชื่อผิดๆ ที่มีมา แต่ดั้งเดิม เพื่อให้ทุกคนเกิดความตระหนักว่าความรุนแรงสามารถเกิดขึ้นได้และมีผลกระทบมาก ยอมรับว่าปัญหา ความรุนแรงไม่ใช่เรื่องส่วนตัวที่ต้องอับอายและปกปิด แต่ต้องแสวงหาวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้อง หาทางแก้ไข ตลอดจนแสวงหาข้อมูลเรื่องวิธีการป้องกัน การแก้ไขปัญหา และแหล่งช่วยเหลือต่างๆ


                                                                                         เรียบเรียงโดย จิราวรรณ ดีเหลือ
                                                                     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่                                                   http://www.nurse.cmu.ac.th/stop-d/knowledge/websara/violence.html

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ความรุนแรง (Violence)

ความรุนแรง (Violence)

ความรุนแรง เป็นพฤติกรรมหรือการกระทำใดๆ ก็ตามที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทั้งทางร่างกาย วาจา จิตใจ หรือทางเพศ และนำมาซึ่งอันตรายหรือความทุกข์ทรมานต่อผู้ถูกกระทำทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ความรุนแรงมีกี่ประเภท?


1. ความรุนแรงทางด้านร่างกาย เช่น การทุบตีทำร้ายร่างกาย ตบ เตะ ต่อย การใช้อาวุธ เป็นต้น
2. ความรุนแรงทางด้านจิตใจ เช่น การใช้คำพูด กิริยา หรือการกระทำที่เป็นการดูถูกดูหมิ่น เหยียดหยาม ด่าว่า ให้อับอาย การกลั่นแกล้ง ทรมานให้เจ็บช้ำน้ำใจ การบังคับ ข่มขู่ กักขัง ควบคุม ไม่ให้แสดงความคิดเห็น การหึงหวง การเลือกปฏิบัติ การเอารัดเอาเปรียบ การตักตวงผลประโยชน์ การถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการเอาใจใส่เลี้ยงดู เป็นต้น
3. ความรุนแรงทางเพศ เช่น การถูกละเมิดทางเพศ การพูดเรื่องลามกอนาจาร การแอบดู การจับต้องของสงวน การบังคับให้เปลื้องผ้า การบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

อะไรคือสาเหตุของการใช้ความรุนแรง?

เมื่อพูดถึงสาเหตุ ต้องคิดถึงผู้กระทำความรุนแรง มิใช่ผู้ถูกกระทำ โดยทั่วไปความรุนแรงมักเกิดมาจาก

1. ลักษณะส่วนตัวของผู้กระทำความรุนแรง
- เป็นกมลสันดาน ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก
- เลียนแบบบิดา มารดา ที่ชอบใช้ความรุนแรง ได้แบบอย่างจากหนังสือ โทรทัศน์
- ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนในเรื่องผิดชอบชั่วดี ครอบครัวขาดความอบอุ่น
- เจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง ทำให้ควบคุมตนเองไม่ได้ เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้น

2. ทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อผิดๆ ของผู้กระทำความรุนแรง ตลอดจนความเชื่อดั้งเดิมผิดๆ ที่เรียกว่ามายาคติ (myths) ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิธีคิดและพฤติกรรมทั้งของ ผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ และบุคคลอื่นๆ

- ความเชื่อบางอย่างส่งเสริมให้เกิดความรุนแรง เช่น ผู้ที่มีอำนาจมีสิทธิกระทำอะไรก็ได้กับผู้ที่ด้อยกว่า ผู้ชายเป็นเพศท ี่แข็งแรงกว่าผู้หญิง ผู้ชายเป็นผู้นำผู้หญิงเป็นผู้ตาม ภรรยาเป็นสมบัติของสามี เป็นต้น
- ความเชื่อบางอย่างส่งเสริมให้ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดชอบต่อการใช้ความรุนแรง เช่น ความเมาทำให้ควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่ได้ตั้งใจกระทำ เป็นต้น
- ความเชื่อบางอย่างเป็นการยอมรับให้มีการใช้ความรุนแรง เช่น ความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว น่าอับอาย คนทะเลาะกัน ผู้อื่นไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว เป็นต้น
- ความเชื่อบางอย่างส่งเสริมให้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงเป็นฝ่ายรับผิดชอบ เช่น ผู้ถูกกระทำเป็นผู้ยั่วยุหรือยั่วยวน ทำหน้าที่บกพร่อง ประพฤติตัวไม่ดี เป็นต้น
- ความเชื่อบางอย่างทำให้ขาดความระมัดระวังตัว เช่น คนที่เรารู้จักจะไม่กล้าล่วงเกินทางเพศเรา คนในครอบครัวหรือ บุคคลใกล้ชิดจะไม่ทำร้ายเรา เป็นต้น
- ความเชื่อบางอย่างทำให้ขาดการเอาใจใส่คนบางกลุ่มไป เช่น ความรุนแรงเกิดขึ้นเฉพาะคนในกลุ่มที่มีฐานะยากจน เป็นต้น
- นอกจากนั้นผู้ที่ถูกกระทำบางคนไม่ทราบว่าตนเองถูกกระทำ เข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องปกติ ทำให้ถูกกระทำซ้ำซาก
- บางรายมีความเชื่อผิดๆ ว่าการถูกกระทำเป็นเรื่องน่าอับอาย เป็นความผิดของตนเอง เกรงว่าถ้าผู้ปกครองหรือ อาจารย์ทราบแล้วจะถูกลงโทษ ทำให้ปกปิดเรื่องไว้ และทนต่อการถูกกระทำซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ

            3. สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิดความรุนแรง เช่น สื่อต่าง ๆ เป็นต้น


เรียบเรียงโดย จิราวรรณ ดีเหลือ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
http://www.nurse.cmu.ac.th/stop-d/knowledge/websara/violence.html