วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  • ระบบเอทีเอ็ม : ระบบเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร และเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยในปีพ.ศ. 2520 เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้แบงค์ในเมือง นิวยอร์กเริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมวันเสาร์อาทิตย์ด้วย ในขณะที่ธนาคารอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ บนถนนสายเดียวกันให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00 - 14.00 น. หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการฝากถอนเงินแล้ว เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคารในการให้บริการลูกค้า กล่าวได้ว่า ระบบเอทีเอ็มของ ธนาคารซิตี้แบงค์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย และคล่องตัว ได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคาร อื่นมาเป็นลูกค้าของตัวเอง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัวในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะไหวตัวทัน และหันมาให้บริการเอทีเอ็มบ้าง
ในปัจจุบัน ATM ช่วยอำนวยความสะดวกเป็นอย่างมาก
  • การลงทะเบียนเรียน : การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้ แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผลแบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้ว สามารถเปลี่ยนกลุ่ม หรือวิชาอื่นใดแทนได้บ้าง

  • การบริหารและการทำธุรกรรม : การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การรับส่งข้อมูลทำการแลกเปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ การกระจายทำการในรูปแบบเว็บพจ ตลอดจนการโต้ตอบสื่อสารแบบส่งข้อความ และการประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมาย
      
    การประยุกต์ที่นาสนใจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง คือ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (electronic commerce : e-commerce) หรือการค้าขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการตั้งร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ผู้ตั้งร้านค้าใช้เว็บเพจนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งทำให้ผ้เข้าใช้บริการสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกประเทศ เป็นการเปิดร้านค้าที่มีลูกค้าเข้าเยี่ยมชมจากแหล่งต่างๆ ได้ทั่วทุกมุมโลก
ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)

  •        รัฐบาลมีเป้าหมายให้ทุกหน่วยราชการดำเนินกิจกรรมต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเช่นกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำงานบนเครือข่ายทำให้เกิดการดำเนินกิจกรรมที่เรียกว่า "อีกอปเวอร์เมนต์" (e-Government) เช่น เมื่อประชาชนติดต่อกระทรวงต่างประเทศเพื่อขอหนังสือเดินทาง กระทรวงต่างประเทศต้องการตรวจสอบบุคคล ก็สามารถเชื่อมโยงเรียกใช้ข้อมูลสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนได้จากสำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทยได้โดยตรงและทันที ทำให้การตรวจสอบบุคคลแม่นยำถูกต้อง โดยประชาชนผู้ขอใช้บริการไม่ต้องถ่ายสำเนา    และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐทำให้การบริการประชาชนมีความรวดเร็ว และเป็นที่ปรารถนาของประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังส่งเสริมให้หน่วยงานราชการดำเนินกิจกรรมต่างๆ กับบริษัท ห้างร้าน เช่น การประมูลซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยหน่วยงานรัฐจะเสนอรายการซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต และให้บริษัทผู้ขายเสนอราคาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้การประมูลจัดซื้อของทางราชการมีความรวดเร็ว สะดวก และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น




ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และยังสื่อสารแบบสองทิศทาง ด้วยเหตุนี้ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมจึงแตกต่างจากในอดีตมาก ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศหนึ่งมีผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น
  • การเปลี่ยนเป็นสังคมสารสนเทศ  ปัจจุบันสังคมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมถึงก่อให้เกิดสังคมออนไลน์ทั้งเว็บบล็อก (Web Blog) เว็บไซต์วีดิโอออนไลน์ เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นต้น
  • การทำงานที่ไร้เงื่อนไขของเวลาและสถานที่  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา โดยการโต้ตอบผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ขยายขอบเขตการทำงานไปทุกหนทุกแห่งและดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงทั่วโลก  เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจซึ่งเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ระบบเศรษฐกิจของโลกจึงผูกพันกับทุกประเทศและเชื่อมโยงกันแนบแน่นขึ้น
  • เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานใหม่ๆ เช่น ระบบระบุพิกัดบนพื้นโลก (Global Positioning System, GPS) ซึ่งสามารถกำหนดพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ การสำรวจ การเดินทาง และใช้เป็นระบบติดตามรถยนต์ นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับการสืบค้นข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมทางอินเทอร์เน็ต เช่น โปรแกรม Google Earth 
การใช้โปรแกรม Google Earth

ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศและวัตถุประสงค์

ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ

1. ฮาร์ดแวร์ คือชุดอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลเข้า ประมวลผลข้อมูลและแสดงผล 
2. ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงาน ของฮาร์ดแวร์ในการรับข้อมูลเข้า 
การประมวลผล และแสดงผล รวมทั้งติดต่อกับผู้ใช้งาน 
3. บุคลากร คือ ผู้ใช้หรือผู้ควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ และผู้พัฒนาโปรแกรม เพราะฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ไม่สามารถทำงานได้เอง จำเป็นต้องมีผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ติดต่อสื่อสารกับซอฟต์แวร์ให้ทำงานประมวลผล โดยการเลือกคำสั่งที่ต้องการ รวมถึงการปิดและเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น 


4. ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่บุคลกรรวบรวมมา เพื่อป้อนเข้าทางอุปกรณ์รับข้อมูลโดยตรง 
เช่น การป้อนวัน เดือน ปี เกิดของนักเรียน เป็นต้น 
5. ขั้นตอนการปฏิบัติ คือ ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานเพื่อประมวลผลข้อมูล ขั้นตอนในการทำงาน
ประมวลผล เช่น ถ้าต้องการทราบอายุของนักเรียนสามารถประมวลผลได้ โดยนำปีเกิดของนักเรียน
มาลบกับปีปัจจุบัน เป็นต้น 

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

วัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศ

  1. เพื่อจัดเก็บ รวบรวม และกระจายสารสนเทศหรือข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
  2. เพื่อสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจให้กับผู้บริหารทุกองค์กร
  3. เพื่อเป็นสื่อประสานระหว่างผู้ใช้และทรัพยากรต่างๆ ภายในองค์กร
  4. เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าและประหยัด

วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ ( Information System )

ความหมาย

    ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) คือระบบแบบเฉพาะเจาะจงชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มของส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกันในการเก็บ (นำเข้า), จัดการ (ประมวลผล) และเผยแพร่(แสดงผล) ข้อมูลและสารสนเทศและสนับสนุนกลไกลของผลสะท้อนกลับ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ขบวนการที่ทำให้เกิดข่าวสารสารสนเทศนี้ เรียกว่า การประมวลผลผลสารสนเทศ (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)