วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สารเสพติดประเภทหลอนประสาท

ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท

 "ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอน
 ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต"
ภาพจำลองอาการหลอนของผู้เสพยาเสพติดประเภทหลอนประสาท
                                     

 ยาเค


                ยาเค (เคตามีน ) ถูกสังเคราะห์ เพื่อใช้เป็นยาดมสลบในกระบวนการผ่าตัดระยะสั้นๆ แต่เนื่องจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น จะทำให้เกิดการเสพติด แพทย์จึงไม่นิยมใช้ยาชนิดนี้กับคนไข้ ยาเค มีทั้งชนิดที่เป็นผงผลึกสีขาว แลชนิดน้ำ มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น เคตาว่า เคตาลา เป็นต้น
โครงสร้างทางเคมีของยาเค

                ยาเค จะถูกนำมาใช้ในทางที่ผิดเพื่อให้เกิดอาการมึนเมาโดยการนัตถุ์ และจะใช้ร่วมกับยาเสพติดชนิดอื่น เนื่องจากฤทธิ์ยาที่หลอนประสาทรุนแรง ผู้เสพจะรู้สึกเคลิบเคล้ม มึนงง ขาดสมาธิ ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน นัยน์ตาเบิกโพลง ความคิดสับสน การรับรู้และการตอบสนองต่อสิ่ง แวดล้อมทั้ง ภาพ แสง สี เสียง จะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อผู้เสพฟื้นจากภาวะเมายาแล้ว พบว่าบางรายจะเกิดอาการวิกลจริต ประสาทหลอน หูแว่วเสียงต่างๆ หากเสพเป็นระยะเวลานานอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าแม้ไม่ได้ใช้ยาก็ตาม เรียกว่า flashback ผู้ใช้ยาเคในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการหายใจติดขัด อาจทำให้เสียชีวิตได้

ภาพจริงของยาเค
โทษทางกฎหมาย

ยาเค จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ ประเภท 2 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 106 พ.ศ.2541

                ผู้ใดจะ ผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก ยานี้มิได้ เว้นแต่กระทรวงสาธารณสุข หรือผู้ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ผู้ฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี ปรับตั้งแต่ 100,000 - 400,000 บาท

 แอลเอสดี



                แอลเอสดี เป็นสารสกัดจาก กรดไลเซอจิก ที่มีในเชื้อราชนิดหนึ่งในข้าวไรย์ มีลักษณะเป็นผง ละลายน้ำได้ แอลเอสดี มีชื่อในหมู่ผู้เสพว่า " เอซิค" มีหลายรูปแบบเช่น เคลือบติดอยู่บนกระดาษ ใช้อมใต้ลิ้น หรือแบบเม็ดยา แบบแคปซูล แบบของเหลวสำหรับรับประทาน ที่พบว่าแพร่ระบาดมากเป็นแผ่นกระดาษ ที่พิมพ์รูปภาพหรือ สัญลักษณ์ โดยเคลือบสารเสพติด และปรุแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ ลักษณะเดียวกับแสตมป์ มีชื่อเรียกว่า " เมจิกเปเปอร์" เมื่อเสพเอสเอลดีเข้าไป จะเริ่มมีผลต่อร่างกายและจิตใจระหว่าง 15 - 60 นาที และจะออกฤทธิ์ได้นาน 6 -8 ชั่วโมง

โครงสร้างทางเคมีของแอลเอสดี

                แอลเอสดี จะมีฤทธิ์หลอนประสาทและทำให้เกิดอาการผิดปกติทางจิตอย่างรุนแรง ในขนาดที่ใช้ยาเพียง 20 - 25 ไมโครกรัมเท่านั้น ผู้เสพจะเกิดอาการเพ้อฝัน เกิดภาพหลอนเห็นแสงสีและภาพที่ผิดปกติ ได้ยินเสียงประหลาด บางรายคิดว่าตนเองมีอำนาจวิเศษ สามารถเหาะได้ บางรายเห็นภาพหลอนที่หน้ากลัว จึงหนีภาพหลอนเหล่านั้นด้วยการฆ่าตัวตาย ทั้งที่ไม่ต้องการฆ่าตัวตายเลยก็ตาม ส่วนอาการทางกายมักพบว่าหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ม่านตาขยาย หายใจไม่สม่ำเสมอ

ภาพของแอลเอสดี
โทษทางกฎหมาย ( ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 )
 แอลเอสดี จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ผู้กระทำผิดได้รับโทษดังนี้

ผู้ผลิต / ผู้จำหน่าย มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต
ผู้เสพ มีโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับ 5,000 - 100,000 บาท
หลอกลวง / ขู่เข็ญให้ผู้อื่นเสพ โดยเฉพาะกระทำต่อผู้หญิงและผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีโทษถึงประหารชีวิต

ดีเอ็มที

โครงสร้างทางเคมีของดีเอ็มที
ภาพของดีเอ็มที



ดีเอ็มที ผู้ที่เสพติดจะประสาทตื่นตัว ไม่ง่วงนอน กระวนกระวาย จิตใจสับสนหวาดระแวงหรือมีอาการทางจิตผู้เสพ มีโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับ 5,000 - 100,000 บาท
หลอกลวง / ขู่เข็ญให้ผู้อื่นเสพ โดยเฉพาะกระทำต่อผู้หญิงและผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีโทษถึงประหารชีวิต

เห็ดขี้ควาย


                เห็ดขี้ควาย หรือ เห็ดวิเศษ (อังกฤษ: Magic mushroom; ชื่อวิทยาศาสตร์: Psilocybe cubensis) อยู่ในวงศ์ Strophariaceae เป็นเห็ดที่มีฤทธิ์กับระบบประสาท มีขึ้นอยู่ตามกองมูลควายแห้ง สีของเห็ดจะมีสีเหลืองซีดคล้ายสีฟางแห้ง บนหัวของร่มจะมีสีน้ำตาลเข็มจนถึงสีดำ บริเวณก้าน ที่ใกล้จะถึงตัวร่ม จะมีแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ สีขาวแผ่ขยายออกรอบก้าน แผ่นนี้มีลักษณะคล้ายวงแหวน เห็ดขี้ควายมีขึ้นอยู่ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะของเห็ดตัวสมบูรณ์และโตเต็มที่ ตรงบริเวณหมวกจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6.5 - 8.8 เซนติเมตร ความสูงของลำต้นประมาณ 5.5 - 8.0 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 - 1.0 เซนติเมตร
ภาพของเห็ดขี้ควาย
                ผู้ที่รับประทานเห็ดนี้ จะมีอาการมึนเมา ประสาทหลอน ไม่สามารถลำดับทิศทาง เห็นภาพ แสง สีต่างๆ ลวงตา มีความคิดและอารมณ์เปลี่ยนแปลงคล้าย แอลเอสดี ถ้ากินมากเกินไปอาจจะทำให้ควบคุมสติไม่อยู่ เกิดประสาทหลอนอย่างรุ่นแรง คลื่นไส้ อาเจียน อาจเสียชีวิตได้เพราะหายใจติดขัด คนที่เคยใช้มานาน ๆ จะเพลินต่อความรู้สึกต่าง ๆ นี้ ร่างกายจะเกิดการต้านยา ต้องเพิ่มขนาดการใช้ขึ้นเรื่อย ๆ ถ้ารับประทานดอกแห้งจะมึนเมาน้อยกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับการรับประทานดอกสด อาการที่เกิดจากการกินเห็ดขี้ควายขึ้นอยู่กับปริมาณ และสภาพของร่างกายของแต่ละบุคคล
                สำหรับในประเทศไทย ดอกเห็ด ก้านเห็ด สปอร์ของเห็ดดังกล่าว จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยผู้ใดผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000-1,500,000 บาท ขณะที่ผู้เสพจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ้างอิงจาก : Wikipedia


ยาเสพติด : บทนำ

บทนำของสารเสพติดให้โทษ


               พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กำหนดความหมายของคำว่า ยาเสพติดให้โทษ ไว้ดังนี้ คือ สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธี รับประทาน ดม สูบ หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น
  • ผู้ที่เสพยา ต้องเพิ่มขนาดการเสพติดมากขึ้นเป็นลำดับ
  • ผู้ที่เสพยา จะเกิดอาการถอนยา เมื่อหยุดใช้ยา หรือขาดยา
  • ผู้ที่เสพยา จะเกิดความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
  • ผู้ที่เสพยา จะมีสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง
  • หรือกล่าวได้ว่าเป็นยาหรือสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ที่ผู้นั้นใช้อยู่ประจำแล้วยาหรือสารนั้นทำให้มีความผิดปกติที่ระบบประสาทกลางซึ่งจะถือว่าผู้นั้นติดยาเสพติด ถ้ามีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย ๓ ประการคือ ผู้ป่วยจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ยาหรือสารนั้นมาไว้ แม้เป็นวิธีที่ผิดกฎหมาย เช่นลักขโมยก็จะทำ
  • ผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติงานตามปกติได้เนื่องจากมีอาการพิษหรืออาการขาดยาหรือสารนั้น
  • พฤติกรรมของผู้ป่วยเปลี่ยนไป เช่น หยุดงานบ่อย หรือไม่เอาใจใส่ครอบครัว
  • ผู้ป่วยต้องเสพยาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (มี Tolerance)
  • เมื่อหยุดเสพหรือลดปริมาณการเสพลงมา จะเกิดอาการขาดยาหรือสารนั้น (Winthdrawal Symptom)
อ้างอิงจาก : Wikipedia สารานุกรมเสรี

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ทำ stop motion

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ทำ stop motion

1. กล้องถ่ายรูป
2. ขาตั้งกล้อง เวลาถ่ายเฟรมควรจะนิ่ง ภาพจะได้เล่นต่อเนื่อง และเหมือนสิ่งของขยับได้จริง
3. แบบสำหรับถ่าย หรือหุ่น ตุ๊กตา
4. ต้องมีโปรแกรมตัดต่อ VDO (ใช้โปรแกรม Corel Video Studio Pro X5)
5. เพลงที่จะใช้ประกอบ VDO หรือไม่มีเพลงประกอบก็ได้ (อาจต้องใช้ภาพมากกว่า 2,000 กว่าภาพ เพื่อเล่น VDO ให้จบภายใน 1 เพลง)

 อ้างอิง http://tidtee1974.blogspot.com/2012/08/how-to-make-stop-motion-stop-motion-vdo.html

[ฟอร์ม] ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อผลด้านคอมพิวเตอร์

https://docs.google.com/a/srp.ac.th/forms/d/1e_0eYP_Hj6C4s2cXp0rW-Yf0R9qz_V0JOe5NuyWwDPw/viewform?usp=send_form

เทคนิคการถ่ายสต็อปโมชัน

เทคนิคการถ่ายสต็อปโมชัน

การถ่ายสต็อปโมชันมีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น
·         เคลย์แอนิเมชัน (Clay animation เรียกย่อ ๆ ว่า เคลย์เมชัน / claymation)
คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้
·         คัตเอาต์แอนิเมชัน (Cutout animation)
สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ มิติ (เช่น กระดาษผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย
·         กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)
เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่าง ๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้
·         โมเดลแอนิเมชัน (Model animation)
คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและฉากหลังเหมือนจริง
·         แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)
ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว
·         พิกซิลเลชัน (Pixilation)
เป็นสต็อปโมชันที่ใช้คนจริง ๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง หุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/สตอปโมชัน

Stop Motion

Stop Motion

 Stop-motion เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 1800 มันถูกสร้างโดยใส่การเคลื่อนไหวเข้าไปในวัตถุที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ลองมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ Stop-motion
 ในสมัยก่อน การทำ stop-motion ส่วนมากจะทำกับวัตถุที่เคลื่อนไหวเองไม่ได้ ต้องทำการถ่ายรูปแล้วก็ขยับวัตถุทีละน้อยแล้วก็ถ่ายรูปซ้ำไปซ้ำมา พอได้ภาพจำนวนหนึ่ง ก็จะนำมาเรียงต่อกันเพื่อทำเป็นหนัง stop-motion เรื่องสั้นเรื่องแรก คือ The Humpty Dumpty Circus สร้างโดย Albert Smith กับ Stuart Blackton ในปี 1899
Emile Cohl
Emile Cohl นักสร้างการตูนและผู้สร้างอนิเมชั่นชาวฝรั่งเศส เป็นคนนำ stop-motion เข้ามาสู่อเมริกา เขาใช้ ภาพวาด หุ่นจำลอง และอื่นๆที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เท่าที่เขาจะหาได้ สำหรับทำ stop-motion แล้วหนัง stop-motion เรื่องแรกของเขา ชื่อว่า Fantasmagorie เขาสร้างมันเสร็จในปี 1908 ใช้ภาพวาดทั้งหมด 700 ภาพ แล้วถ่ายรูปขึ้นมาเพื่อนำมาทำเป็นอนิเมชั่น
Willis O’Brien
Willis O’Brien เป็นผู้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับวงการภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขาร่วมสร้างคือ The Lost World ในปี 1925 ในภาพยนตร์มีบางช่วงที่เป็น stop-motion ซึ่งเขาเป็นคนทำมัน จากผลงานนี้ทำให้เขาได้ร่วมงานกับทีมสร้าง King Kong
อ้างอิง http://www.lomography.co.th/magazine/128477-a-short-history-of-stop-motion-animation-thai

ประเภทของความรุนแรง

ประเภทของความรุนแรง


1. ความรุนแรงทางด้านร่างกาย
           การกระทำรุนแรงทางกาย หมายถึง การใช้กำลังหรือ อุปกรณ์ใด ๆ เป็นอาวุธทำร้ายร่างกายเกินกว่าเหตุมีผลทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ
2. ความรุนแรงทางด้านจิตใจ
   การกระทำรุนแรงทางจิต หมายถึง การกระทำใด ๆ ที่มีผลให้ผู้ถูกกระทำได้รับความกระทบกระเทือนด้านจิตใจหรือเสียสิทธิเสรีภาพ ได้แก่ การทอดทิ้ง การดูถูก เหยียดหยาม หรือดุด่า การกักขังหน่วงเหนี่ยว
3. ความรุนแรงทางเพศ   
  การกระทำรุนแรงทางเพศ หมายถึง การกระทำที่มีผลให้ผู้ถูกกระทำได้รับความกระทบกระเทือนหรือเสียหายเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ได้แก่ การถูกข่มขืน การถูกลวนลาม อนาจาร 




 
อ้างอิง : http://www.violence.in.th/publicweb/NewsDetail.aspx?id=17&type=6
อ้างอิงรูป : www.thaihealth.or.th