ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ระบบเอทีเอ็ม : ระบบเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร และเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยในปีพ.ศ. 2520 เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้แบงค์ในเมือง นิวยอร์กเริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมวันเสาร์อาทิตย์ด้วย ในขณะที่ธนาคารอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ บนถนนสายเดียวกันให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00 - 14.00 น. หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการฝากถอนเงินแล้ว เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคารในการให้บริการลูกค้า กล่าวได้ว่า ระบบเอทีเอ็มของ ธนาคารซิตี้แบงค์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย และคล่องตัว ได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคาร อื่นมาเป็นลูกค้าของตัวเอง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัวในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะไหวตัวทัน และหันมาให้บริการเอทีเอ็มบ้าง
ในปัจจุบัน ATM ช่วยอำนวยความสะดวกเป็นอย่างมาก
- การลงทะเบียนเรียน : การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้ แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผลแบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้ว สามารถเปลี่ยนกลุ่ม หรือวิชาอื่นใดแทนได้บ้าง
- การบริหารและการทำธุรกรรม : การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การรับส่งข้อมูลทำการแลกเปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ การกระจายทำการในรูปแบบเว็บพจ ตลอดจนการโต้ตอบสื่อสารแบบส่งข้อความ และการประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมาย
การประยุกต์ที่นาสนใจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง คือ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (electronic commerce : e-commerce) หรือการค้าขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการตั้งร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ผู้ตั้งร้านค้าใช้เว็บเพจนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งทำให้ผ้เข้าใช้บริการสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกประเทศ เป็นการเปิดร้านค้าที่มีลูกค้าเข้าเยี่ยมชมจากแหล่งต่างๆ ได้ทั่วทุกมุมโลก
ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
- รัฐบาลมีเป้าหมายให้ทุกหน่วยราชการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเช่นกัน
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำงานบนเครือข่ายทำให้เกิดการดำเนินกิจกรรมที่เรียกว่า
"อีกอปเวอร์เมนต์" (e-Government) เช่น
เมื่อประชาชนติดต่อกระทรวงต่างประเทศเพื่อขอหนังสือเดินทาง
กระทรวงต่างประเทศต้องการตรวจสอบบุคคล
ก็สามารถเชื่อมโยงเรียกใช้ข้อมูลสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนได้จากสำนักทะเบียนราษฎร์
กระทรวงมหาดไทยได้โดยตรงและทันที ทำให้การตรวจสอบบุคคลแม่นยำถูกต้อง
โดยประชาชนผู้ขอใช้บริการไม่ต้องถ่ายสำเนา และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐทำให้การบริการประชาชนมีความรวดเร็ว
และเป็นที่ปรารถนาของประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังส่งเสริมให้หน่วยงานราชการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
กับบริษัท ห้างร้าน เช่น การประมูลซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต
โดยหน่วยงานรัฐจะเสนอรายการซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต
และให้บริษัทผู้ขายเสนอราคาผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ทำให้การประมูลจัดซื้อของทางราชการมีความรวดเร็ว สะดวก และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
- การลงทะเบียนเรียน : การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้ แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผลแบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้ว สามารถเปลี่ยนกลุ่ม หรือวิชาอื่นใดแทนได้บ้าง
- การบริหารและการทำธุรกรรม : การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การรับส่งข้อมูลทำการแลกเปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ การกระจายทำการในรูปแบบเว็บพจ ตลอดจนการโต้ตอบสื่อสารแบบส่งข้อความ และการประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมาย
การประยุกต์ที่นาสนใจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง คือ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (electronic commerce : e-commerce) หรือการค้าขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการตั้งร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ผู้ตั้งร้านค้าใช้เว็บเพจนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งทำให้ผ้เข้าใช้บริการสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกประเทศ เป็นการเปิดร้านค้าที่มีลูกค้าเข้าเยี่ยมชมจากแหล่งต่างๆ ได้ทั่วทุกมุมโลก
ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) |
- รัฐบาลมีเป้าหมายให้ทุกหน่วยราชการดำเนินกิจกรรมต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเช่นกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำงานบนเครือข่ายทำให้เกิดการดำเนินกิจกรรมที่เรียกว่า "อีกอปเวอร์เมนต์" (e-Government) เช่น เมื่อประชาชนติดต่อกระทรวงต่างประเทศเพื่อขอหนังสือเดินทาง กระทรวงต่างประเทศต้องการตรวจสอบบุคคล ก็สามารถเชื่อมโยงเรียกใช้ข้อมูลสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนได้จากสำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทยได้โดยตรงและทันที ทำให้การตรวจสอบบุคคลแม่นยำถูกต้อง โดยประชาชนผู้ขอใช้บริการไม่ต้องถ่ายสำเนา และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐทำให้การบริการประชาชนมีความรวดเร็ว และเป็นที่ปรารถนาของประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังส่งเสริมให้หน่วยงานราชการดำเนินกิจกรรมต่างๆ กับบริษัท ห้างร้าน เช่น การประมูลซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยหน่วยงานรัฐจะเสนอรายการซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต และให้บริษัทผู้ขายเสนอราคาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้การประมูลจัดซื้อของทางราชการมีความรวดเร็ว สะดวก และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น