เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก
สามารถเก็บได้อย่างถาวร โดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา
เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย
จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ
ฮาร์ดดิสก์มีหน่วยความจุตั้งแต่เป็นไบต์ เมกะไบต์ จนถึงจิกะไบต์
หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีความจุของฮาร์ดดิสก์มากก็จะทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มาก ฮาร์ดดิสก์
ทำจากแผ่นจานแม่เหล็กวางซ้อนกันหลาย ๆ แผ่น
โดยที่ทุกแทรกและเซกเตอร์ที่มีตำแหน่งตรงกันของฮาร์ดดิสก์ในชุดหนึ่งจะเรียกว่าไซลินเดอร์
แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนเร็วมาก โดยที่หัวอ่านและบันทึกจะไม่ไปสัมผัสกับผิวของจานแม่เหล็ก
ดังนั้นหากหัวอ่านและบันทึกมีฝุ่นสะสมอยู่มาก
หัวอ่านและบันทึกจะไปสัมผัสกับผิวของจานแม่เหล็ก
ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการเรียกใช้ข้อมูลหรือเกิดความเสียหายได้
ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) |
ปัจจุบันนิยมใช้หน่วยความจุเป็นเมกะไบต์และกิกะไบต์
แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
ฮาร์ดดิสก์ไอดีอี( IDE: Integrated Device Electronics)
เป็นฮาร์ดดิสก์ใช้งานมายาวนานที่สุด
มีการนำแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์มารวมไว้หับจานแม่เหล็ก
เพื่อช่วยตัดสัญญาณรบกวนจากภายนอก
ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้จะสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้เพียง 2 เครื่องเท่านั้น จีงมีการพัฒนาฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้ขึ้นเป็นฮาร์ดดิสก์อีไอดีอี
(EIDE:Enhance IDE) เพื่อลดข้อจำกัดของฮาร์ดดิสก์ไอดีอี
ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นได้ถึง 4 เครื่อง
ช่วยให้สามารถบันทึกข้อมูลหรือมีความจุได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
ฮาร์ดดิสก์ซีเรียวเอทีเอ (Serial
ATA)
เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ออกแบบมาให้มีช่องสำหรับจ่ายให้ฮาร์ดโดยเฉพาะ
มีคุณสมบัติ พิเศษที่สามารถถอดฮาร์ดได้ในขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดดิสก์สกัสซีหรือเอสซีเอสไอ(SCSI: Small Computer System Interface)
เป็นฮาร์ดแวร์ที่มีหน่วยความจำในตัวเองซึ่งปัจจุบัน SISC อยู่ที่ ความเร็ว 160 MB/Sec ส่วน ATA อยู่ที่ 100 MB/Sec ทั้งสองมาตรฐานต้องต่อกับ
อุปกรณ์เฉพาะที่ออกแบบมากับ แต่ละแบบ ไม่สามารถนำมาต่อเข้าด้วย กันได้
ยกเว้นจะมีตัวควบคุม (Controller) แยกต่างหาก
IDE |
Serial ATA |
SCSI |
การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
1. ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุและความเร็วเหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้ เช่น
งานพิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นอินเทอร์เน็ต ควรมีความจุ 0-10
GB/5,400 RPM งานกราฟิก ตกแต่งภาพความละเอียดสูง เล่นเกม ความจุ 200-250
GB/7,200 RPM และงานสร้างมัลติมีเดีย ตัดต่อเสียงและวีดิโอ
ควรมีความจุตั้งแต่ 320 GB ขึ้นไป/10,000 RPM เป็นต้น
2. ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีการรับประกัน
การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์
1. ควรสแกนหาไวรัสเป็นประจำทุกสัปดาห์
หรือติดตั้งโปรแกรมสแกนไวรัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์และปรับปรุงโปรแกรมสแกนไวรัสอยู่เสมอ
2. ควรลบไฟล์ขยะเป็นประจำทุกวันหรือทุกสัปดาห์
โดยการเรียกใช้โปรแกรมอรรถประโยชน์ของวินโดว์ ได้แก่ Disk Cleanup
3. ควรสแกนดิสก์หาพื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่บกพร่อง
ซึ่งมักเกิดจากการปิดเครื่องโดยไม่ได้ Shut down หรือไฟดับกะทันหัน
ซึ่งทำได้โดยการเรียกใช้โปรแกรม Check Disk
4. ควรจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ให้เป็นระเบียบ
เพื่อเพิ่มเนื้อที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์และเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้รวดเร็วขึ้น
โดยการเรียกใช้โปรแกรมยูทิลิที้ของวิโดวส์ได้แก่ Disk Defragmenter ซึ่งควรทำอย่างน้อยเดือนละครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น